Member Login

Welcome back, friend. Login to get started

Facebook

Not member yet / Forgot password

สมัครสมาชิก

พร้อมรับข้อเสนอสุดพิเศษแล้วหรือยัง? มาเริ่มกันเลย!

Facebook

Password Recovery

Fortgot your password? Don't worry we can deal with it

เส้นทางไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์กลางใจเมือง

1).พระศิลาเจ้า อายุมากกว่า 2,500 ปี
เป็นพระพุทธรูปปางโปรดช้างนาราคีฬีแกะสลักด้วยหินชนวนดำ(บางตำนานว่าเป็นหินแดง) ฝีมือช่างปาละของอินเดียและสลักตามคติเดิมของอินเดีย พุทธลักษณะ คือ ประทับยืนเยื้องพระองค์บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างซึ่งหมอบอยู่ พระหัตถ์ซ้ายยกในท่าประทานอภัยหรือแสดงธรรม พระอานนท์ยืนถือบาตรอยู่ด้านซ้าย ปัจจุบันประดิษฐานคู่กับพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) ภายในพระวิหารวัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญมากมาตั้งแต่โบราณ
ว่ากันว่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราช พระมหากษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่ 9 ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ มีรับสั่งให้ไปอาราธนาพระศีลาเจ้ามาประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ ครั้นถึงเทศกาลอันสมควรก็กระทำพิธีสักการบูชาสระสรงสมโภชเป็นงานประจำปี ถ้าปีใดบ้านเมืองแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็ทรงให้จัดการทำพิธีขอฝน สระสรงองค์พระศีลาเจ้า ก็จะตกต้องตามฤดูกาล พืชผลน้ำท้าข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองมั่งคั่งสงบร่มเย็นเป็นที่อัศจรรย์ใจ
Road Map : https://goo.gl/maps/eGqsVLcqSe1ezUbJA

2).พระเสตังคมณี อายุมากกว่า 1,300 ปี
หรือ พระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปแก้วผลึกสีขาวปางมารวิชัย ศิลปะทวารวดี ตามตำนานโบราณเล่าสืบขานกันว่า พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัยทรงสร้างขึ้นและนำมาประดิษฐานไว้ที่อาณาจักรหริภุญไชยใน พ.ศ.1204 จนกระทั้งพญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์มังรายหมายพระทัยจะสร้างพระราชอาณาจักรใหม่ จึงทรงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยพระราชประสงค์จะได้เมืองหริภุญไชย เพราะเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์การค้าระหว่างประเทศ ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีทางน้ำติดต่อถึงเมืองละโว้และเมืองอโยธยา
และทรงตีหริภุญไชยได้ใน พ.ศ. 1824 จึงทรงอัญเชิญพระแก้วขาวอันศักดิ์สิทธิ์นี้มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดเชียงมั่น เพื่อเป็นมิ่งขวัญของเมืองเชียงใหม่นับแต่นั้นมา
Road Map : https://goo.gl/maps/eGqsVLcqSe1ezUbJA

3).พระเจ้าหมื่นทอง อายุเก่าแก่กว่า 500 ปี
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสีขาว ประดิษฐานอยู่ในวัดปราสาทตั้งแต่ครั้งที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเมื่อปี พ.ศ. 2035 ในสมัยที่พระยายอดเชียงรายครองเชียงใหม่ องค์พระมีพระพักตร์อิ่มเอิบ น่าเลื่อมใสศรัทธา นับเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่แผ่นดินที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่โดยฝีมือเชิงช่างชั้นสูง โดยเฉพาะพระเจ้าหมื่นทอง พระประธานที่ประดิษฐานภายในซุ้มปราสาทแบบล้านนาโบราณ ที่หลงเหลืออยู่ไม่กี่แห่งในปัจจุบัน
โดยเชื่อกันสืบมาว่า องค์พระประธานนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก หากผู้ใดได้มากราบสักการะขอพรจากองค์พระประธาน ในซุ้มปราสาทแห่งนี้ จะรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความเงียบสงบราวกับมีมนต์ขลัง และสมหวังทุกประการทุกครั้งไป
Road Map : https://goo.gl/maps/HqAzzJGEAiPSfW4K7

4).พระพุทธสิหิงค์ อายุมากกว่า 1,300 ปี
หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเชียงใหม่ ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๗๐๐ โดยกษัตริย์ลังกา ๓ พระองค์และพระอรหันต์ ๒๐รูป เป็นผู้สร้าง พ.ศ. ๑๙๓๑ พระเจ้า แสนเมืองมา ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานที่วัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร เทศกาลสงกรานต์ทุกปีมี พิธีอาราธนาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกแห่ ให้ประชาชนได้สรงน้ำสักการบูชา เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน นับเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ซึ่งมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เป็นพระประจำวันเกิดของปีมะโรง ผู้ที่เกิดปีมะโรงต้องมากราบสักการะให้ได้สักครั้งในชีวิต
Road Map: https://goo.gl/maps/hao17vkb3pRnsMTf8

5).พระเจ้าทองทิพย์ อายุมากกว่า 530 ปี
เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ “พระเจ้าติโลกราช” กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 (พ.ศ. 1984-2030) สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกการทำสังคายนาพระไตรปิฎกดกครั้งที่ 8 ของโลก โดยชาวล้านนาเชื่อว่า “พระเจ้าทองทิพย์” คือพระพุทธรูปที่สร้างด้วยสำริดเนื้อพิเศษที่ได้มาจาก “สรวงสวรรค์” ด้วยพระเจ้าติโลกราชทรงสร้าง ด้วยเนื้อวัสดุที่มีส่วนผสมของทองคำแท้ในสัดส่วนที่มากมาย (ปกติพระพุทธรูปองค์อื่นๆ มักใช้ทองสำริด ที่มาจากทองเหลืองผสมทองเแดง) จนเมื่อหล่อเสร็จผิววรกายขององค์พระปฏิมาจะมี “สองสี” คือส่วนที่เป็นวัสดุทองคำ จักเปล่งประกายมากกว่าจุดอื่นๆ ถือว่าบรรลุพระราชประสงค์ของการสร้าง เสมือนว่าได้อัญเชิญให้พระอินทร์ช่วยนำเนื้อทองสำริดพิเศษจากสรวงสวรรค์มาร่วมหล่อพระพุทธรูปยังมนุษยโลกด้วยกัน
จึงร่ำลือกันสืบมาว่า ผู้ใดได้มากราบจอพรจะเป็นมหามงคลสูงสุด ร่ำรวยเงินทอง เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมตามรอยท้าวพญามหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้สร้างพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้
Road Map : https://goo.gl/maps/hao17vkb3pRnsMTf8

6).พระเจ้าแข้งคม อายุมากกว่า 530 ปี
เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากองค์หนึ่งของล้านนา ลักษณะแตกต่างจากแบบแผนของศิลปะล้านนาที่มีมาแต่เดิมอย่างเห็นได้ชัดคือ พระชงฆ์เป็นสัน (แข้งคม) พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์ซ้อนกัน ๒ เส้น มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน จากลักษณะหน้าแข้งพระพุทธรูปสร้างเป็นสันขึ้นมา จึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม”
สร้างโดย พระเจ้าพระเจ้าติโลกราช ดำริให้หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ มีทองสัมฤทธิ์หนักประมาณสามสิบสามแสน (๓,๓๐๐,๐๐๐) ประมาณ ๓,๙๖๐ กิโลกรัม ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว (๒.๓๙ เมตร) สูง ๑๑๒ นิ้ว (๒.๘๕ เมตร) และทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประมาณ ๕๐๐ องค์ พร้อมกับพระพุทธรูปแก้วทองและเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในเศียรพระพุทธรูปองค์นี้
ปัจจุบันตั้งประดิษฐานในวิหารวัดศรีเกิด ต.พระสิงห์ ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญงดงามล้ำค่าของแผ่นดินเกินที่จะประมาณได้
Road Map : https://goo.gl/maps/KVtxFnskduQHAHzc6

7).พระพุทธเมิงราย อายุมากกว่า 500 ปี
หรือ พระเจ้าห้าตื้อ สร้างโดยขุนนางพม่าได้มีศรัทธาในพุทธศาสนา โดยใช้ศิลปะล้านนา ในช่วงล้านนาอยู่ในปกครองโดยพม่า หล่อด้วยโลหะผสมทองหนัก 5,000 กิโลกรัม ประทับอยู่ในซุ้มโขงอันงดงาม
ชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” นั้นมาจากน้ำหนักขององค์พระที่หนัก 5 ตื้อ (1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม) ที่ฐานพระเจ้าห้าตื้อมีจารึกอักษรพม่า ส่วนด้านหลังเป็นอักษรธรรมล้านนา เชื่อกันว่าผู้ใดมาสักการะกราบไว้พระเจ้าห้าตื้อ จะรอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ เสริมเกียรติยศให้ยิ่งใฟญ่ มากบุญบารมี และความมีชัยชนะสมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดชัยพระเกียรติ ซึ่งเป็นอารามของนครเชียงใหม่มาตั้งแต่โบราณกาล ที่ฝาผนังจะมีภาพจิตรกรรมเรื่องราวชาดกอันสวยงาม นับเป็นมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา
Road Map https://goo.gl/maps/E4nPVyGR1krcQtHG9

8 ).พระอัฏฐารส อายุมากกว่า 629 ปี
พระอัฏฐารส เป็นประธานในพระวิหาวัดเจดีย์หลวง แปลว่า พระสิบแปด หมายถึงพุทธธรรม 18 ประการ อันเป็นพระคุณสมบัติเฉพาะพระองค์ สูง 16 ศอก 23 ซ.ม. หรือเท่ากับ 8.23 เมตร เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ศิลปะเชียงใหม่ตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลต้นแบบจากศิลปะปาละ (อินเดีย) หล่อด้วยทองสำริดสูงใหญ่ ปางห้ามญาติ มีพระพุทธลักษณะสง่างามที่สุดในอาณาจักรล้านนา โดยเฉพาะส่วนพระพักตร์มีลักษณะอ่อนโยนงดงามยิ่งนัก เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยกับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนหรือพระสิงห์ซึ่งได้วิวัฒนาการงานศิลป์มาจากปาละด้วยเช่นกัน
พระนางติโลกจุฑาเทวี ผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา ทรงสร้างเมื่อครั้งที่พระสวามีสร้างพระเจดีย์หลวง เมื่อ พ.ศ.1934 โดยพระนางเป็นแม่กองบัญชาการก่อสร้างพระเจดีย์หลวงด้วยพระองค์เอง ใช้เวลาในการสร้างนาน 5 ปี จึงแล้วเสร็จ ทำพิธีปกยอดฉัตรเจดีย์ด้วยทองคำหนัก 8,902 และประดับรัตนมณี 3 ดวง ไว้บนยอดพระเจดีย์ และสร้างพระวิหารหลวงขึ้นหลังหนึ่ง ทางทิศตะวันออกของพระเจดีย์ พร้อมทั้งให้หล่อพระประธาน คือ พระอัฏฐารส และพระอัครสาวก พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรประดิษฐานไว้
ซึ่งเมื่อครั้งหล่อพระพุทธรูปอัฏฐารส พระเถระผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดวัดเจดีย์หลวงชื่อว่า “นราจาริยะ” ใคร่ลองบุญญาภินิหารจึงได้กระทำสัตยาธิษฐาน แล้วอุ้มเบ้าทองอันร้อนด้วยมือยกขึ้นตั้งเหนือศีรษะ ก็ไม่ทำให้ร้อนไม่ไหม้ คนทั้งหลายเห็นแปลกดังนั้นก็เกิดอัศจรรย์พากันแซ่ซ้องสาธุการกันทั่วทั้งเมือง
Road Map : https://goo.gl/maps/ktQBxD78AyP7tauk8

9).พระเจ้าค่าคิงพญามังราย อายุมากกว่า 700 ปี
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระเจ้าเม็งรายเป็นพระอารามหลวงแห่งที่สาม ที่พญามังรายองค์ปฐมกษัตริย์ทรงสร้างขึ้น มีหลักฐานโบราณปรากฏว่า พระพุทธรูปยืนที่มีนามว่า “พระเจ้าค่าคิง” ของพญามังรายนี้ สันนิษฐานว่าสร้างปี พ.ศ.1836-1840 ซึ่งได้โปรดให้หล่อถวายไว้ที่เวียงกุมกาม ต่อมาพระองค์ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่
โดยได้ยกถวายหอบรรทมของพระองค์ตั้งขึ้นเป็นวัดนามว่าวัดเชียงมั่น และได้อัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางลีลาห้ามญาติ เนื้อสัมฤทธิ์ จากเวียงกุมกาม ซึ่งมีขนาดองค์พระสูงใหญ่เท่าตัวของพญามังราย ให้มาประดิษฐานไว้ในวัดเชียงมั่น
ขณะที่หามพระพุทธรูปมาถึงบริเวณวัดพระเจ้าเม็งราย ไม้ที่ใช้หามพระพุทธรูปได้หักคอนลง พญามังรายถือเป็นบุพพนิมิตที่ดี จึงโปรดให้สร้างพระอารามขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาห้ามญาติองค์นี้มาตราบเท่าทุกวันนี้